วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Fixed-Mobile Convergence

ใครๆ ก็พูดถึงกันสำหรับคำว่า Convergence ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวโน้มเทคโนโลยีโทรคมนาคมในปีนี้เลยทีเดียวเราจะมาดูกันว่า Fixed-Mobile Convergence (FMC) นั้นหมายถึงอะไร และ ทำไมถึงได้รับความสำคัญมากขนาดนี้ FMC ก็คือการหลอมรวมกันของเทคโนโลยีระหว่าง โทรศัพท์พื้นฐาน กับ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้ผู้ใช้บริการสะดวกสามารถใช้บนโครงข่ายใดก็ได้ ซึ่งอาจจะเป็น โทรศัพท์ไอพี (IP Phone) หรือ การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์บนสายโทรศัพท์ ที่ให้บริการร่วมกับ โทรศัพท์เคลื่อนที่

จากแต่เดิมการใช้โทรศัพท์ภายในบ้านก็จะผ่านโทรศัพท์พื้นฐาน และเมื่อมีการเคลื่อนที่ก็จะใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ การใช้งานจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้นทำให้ทั้งผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ผู้ผลิตอุปกรณ์ ต่างให้ความสนใจกับ FMC เป็นอย่างมาก

ตามที่ทราบกันดีว่าในประเทศที่พัฒนาทางเทคโนโลยีแล้ว รวมกับประเทศไทยเรานี้ จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐาน มีน้อยกว่า จำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ ที่สำคัญจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็มาจากผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งนั้น ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการเกิดขึ้นของ IP Phone ตามที่เรารู้จักกันดีอย่าง Skype ทำให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง FMC มาต่อสู้บนเวทีที่มีการแข่งขันสูงในตลาดโทรคมนาคมอย่างเช่นทุกวันนี้

อันที่จริงคำว่า FMC ไม่ได้ถูกกำหนดความหมายไว้อย่างชัดเจนนัก มีการจินตนาการถึงบริการที่แตกต่างหลากหลาย แต่ก็มีส่วนที่คิดเห็นร่วมกันอยู่ดังนี้

- Convergence Billing: FMC เป็นบริการที่มีการรวมบิลค่าใช้บริการโทรศัพท์พื้นฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ อินเทอร์เน็ตเข้าไว้ด้วยกัน

- Convergence Number: เลขหมายเดียว ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งเมื่ออยู่นอกสถานที่ และ ในบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อนำโทร ศัพท์เคลื่อนที่มาใช้ภายในบ้านก็จะผ่านโครงข่าย Fixed-line ที่เป็น PSTN หรือ วงจรอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง

- Convergence Terminal: บริการที่สามารถใช้เทอร์มินอลตัวเดียวกันสำหรับโทรศัพท์พื้นฐาน และ โทรศัพท์เคลื่อนที่

ในญี่ปุ่นได้มีการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่าน Optical fiber สู่บ้าน หรือที่รู้จักกันดีว่า Fiber to the Home (FTTH) โดยผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการ IP Phone ได้ ส่วนค่าใช้บริการก็สามารถรวมเป็นบิลเดียวกันได้ ในขั้นต่อไปก็น่าจะมีการใช้งานร่วมกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ในอนาคตอันใกล้

Fixed-Mobile Convergence (FMC) concept

ปัจจุบันการใช้งานบนมือถือไม่จำกัดเพียงการสื่อสารธรรมดาเท่านั้น แต่ได้รวมเอาความสามารถในการส่งอีเมล์รวมถึงการส่งรูปภาพไปกับอีเมล์ด้วย VDO Call Web browser ซึ่งผู้ให้บริการที่ใช้โครงข่าย FTTH หรือ ADSL ได้เริ่มนำบริการต่างๆ ในลักษณะเดียวกัน เข้ามาให้บริการ ในมุมของผู้ใช้บริการย่อมต้องการให้การคิดค่าบริการไม่แตกต่างกันระหว่างการใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ กับ โทรศัพท์พื้นฐาน และ ยังคงสามารถใช้ฟังก์ชันต่างๆ ได้เหมือนบนมือถือเมื่อมีการใช้งานภายในบ้านด้วย Convergence Terminal

ผู้ให้บริการซึ่งมีฐานลูกค้าอยู่เป็นอันดับต้นๆ จะไม่สามารถนิ่งนอนใจได้อีกต่อไปแล้วเนื่องจากเทคโนโลยีโทรคมนาคมมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้ผู้ให้บริการที่มีฐานลูกค้าต่ำนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยซึ่งสามารถตอบโจทย์ของผู้ใช้บริการได้มาเป็นอาวุธทางการตลาดที่สำคัญ

ที่มา http://www.telecomjournal.net/index.php?option=com_content&task=view&id=599&Itemid=47

กลุ่มทรู แถลงวิสัยทัศน์ปี 2007 สานต่อความโดดเด่นผู้นำชีวิต Convergence Lifestyle

Thursday, 1 February 2007 15:18 -- ทั่วไป

ผสมผสานบริการ 5 ธุรกิจหลักในกลุ่มทรู ; ทรูมูฟ ทรูออนไลน์ ทรูวิชั่นส์ ทรูมันนี่ ทรูไล ฟ์ เร่งสร้างมูลค่าเพิ่มชัดเจนเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น ตอบสนองไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ยุคดิจิทัลแบบเฉพาะทาง ภายใต้แนวคิด ยิ่งรวมกัน ชีวิตยิ่งดีขึ้น

ทรู ประกาศวิสัยทัศน์ปี 2007 ก้าวสู่อีกระดับของการสร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดคืนกลับสู่ผู้บริโภค หลังสำเร็จก้าวแรกผสมผสาน 5 ธุรกิจหลักครบวงจร ทรูมูฟ ทรูออนไลน์ ทรูวิชั่นส์ ทรูมันนี่ ทรูไล ฟ์ ตอบโจทย์ความเป็นผู้นำชีวิต Convergence Lifestyle เติมเต็มไลฟ์สไตล์ผู้บริโภค มั่นใจสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาให้เกิดได้จริงภายในปี2009 พร้อมเพิ่มขีดความสามารถให้ประชาชนและเยาวชนทุกครัวเรือนทั่วประเทศเข้าถึง ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร สาระบันเทิง รองรับการแข่งขันกับตลาดโลก

นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารกลุ่ม บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า ปี 2549 กลุ่มทรูได้บรรลุก้าวแรกของวิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำ Convergence & Lifestyle Enabler ด้วยการทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงและสามารถเติมเต็มชีวิตประจำวันของตนได้มากขึ้น รวมทั้งสามารถเข้าถึงความรู้ ข่าวสาร ข้อมูล ความบันเทิง ธุรกรรม ตลอดจนเข้าถึงคุณค่าของ กันและกันตามพันธกิจ (Mission Statement) ของกลุ่ม หรือ Access Availability และ Universal Access ถือเป็นภารกิจแรกที่สำคัญ ซึ่งเกิดขึ้นจากการควบรวมบริษัท ทีเอ ออเร้นจ์ หรือ ทรูมูฟ และ บริษัท ยูไนเต็ด บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น หรือ ทรูวิชั่นส์ อันเป็นปัจจัยสำคัญทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคให้เข้าถึงรูปแบบเนื้อหาในการบริโภคทั้ง 3 รูปแบบ คือ รูปแบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ รูปแบบคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต และรูปแบบโทรทัศน์และเคเบิ้ลทีวี ซึ่งตอบโจทย์การเป็น ผู้นำชีวิต Convergence & Lifestyle Enabler ตามวิสัยทัศน์ของกลุ่ม และจะเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะนำสังคมไทยเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า Digital Age ที่ทุกสิ่งจะถูกจัดเก็บและดำเนินการอยู่ในระบบดิจิทัล ง่ายและมีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อให้ผู้บริโภคเติมเต็มชีวิตประจำวัน ทั้งชีวิตการทำงาน ชีวิตส่วนตัวได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

“สำหรับไลฟ์สไตล์นั้นประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ Content หรือเนื้อหาสาระที่ผสมผสานทั้งภาพ เสียง และข้อมูล นอกจากนั้น ก็คือ Community ชุมชนที่มีความสนใจและไลฟ์สไตล์ที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งในอดีตสื่อสารกันในลักษณะของ One To One คือรู้กัน 1 ต่อ 1 แต่ปัจจุบันกลายเป็นการสื่อสารกันในลักษณะที่เรียกว่า One To Many หรือ 1 ต่อ หลายๆ คน รวมทั้ง 1 ต่อองค์กร หรือ 1 ต่อสังคม หรือ 1 ต่อทั้งประเทศ และรูปแบบสุดท้ายคือ Commerce หรือการทำธุรกรรมเชิงพาณิชย์ ซึ่งหมายถึง E-Commerce หรือที่เรียกว่า ดิจิทัลคอมเมิร์ซ ซึ่งบางส่วนทำเอง บางส่วนทำกับคู่ค้า กับผู้ประกอบการรายอื่น ซึ่ง รูปแบบทั้ง 3 นี้ จะเกิดขึ้นควบคู่ไปกับความสามารถของเทคโนโลยี รวมทั้งความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสารของคนในประเทศ“

การสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญา Information Based Society หรือ Knowledge Based Society ตามพันธกิจที่สำคัญยิ่งของทรูใน ช่วง 3-5 ปีข้างหน้านั้น นายศุภชัยกล่าวว่า นอกจากจะต้องมีค่านิยมในการเรียนรู้แล้ว จะต้องมีปัจจัยที่สำคัญคือ Access Availability หรือความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ผ่าน Platform ที่เรียกว่า IP หรือ Internet Platform ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ผนวกกับระบบการเชื่อมโยง IP ทำให้คำว่า Digital Economy (เศรษฐกิจแบบดิจิทัล) / Digital Society (สังคม ดิจิทัล) รวมถึงคำว่า Convergence และ Digital Lifestyle (ไลฟ์สไตล์ดิจิทัล) จึงเกิดขึ้น และเป็นจุด เริ่มต้นของวิวัฒนาการสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งการพัฒนาความเจริญของแต่ละประเทศจะถูกบ่งชี้โดยคำว่า Access Availability หากประเทศไทยสามารถพัฒนาและสร้างโครงสร้างพื้นฐานนี้ได้ดี ก็จะนำพาประเทศสู่ยุคระบบสังคมที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสสูง สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ และเสริมสร้างประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจของประเทศ

การขยายบริการพื้นฐานทั้ง 3 ส่วนของกลุ่มทรู คือ ทรูออนไลน์ ทรูมูฟ ทรูวิชั่นส์ ถือเป็นส่วนที่เป็น Access Availability ทั้งสิ้น จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะเชื่อมโยงทั้ง 3 ระบบเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดเป็น Universal Access หรือเกิดเป็น Convergence Platform ทั้งนี้กลุ่มทรู จึงจำเป็นต้องมี ทรูมันนี่ และ ทรูไลฟ์ (True Life) โดย ทรูมัน นี่ เพื่อทำธุรกรรมทางพาณิชย์ต่างๆ (Digital Commerce) ในรูปแบบที่เป็นออนไลน์และทุก Access Platform ที่เกิดขึ้นและใช้บริการได้จริง ในขณะที่ ทรูไล ฟ์ จะให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงเนื้อหาสาระรูปแบบดิจิทัล (Digital Content) และชุมชนดิจิทัล (Digital Community) และ Digital Multimedia Communicator ได้แท้จริง ทั้งระหว่างผู้บริโภค (C to C) ธุรกิจกับผู้บริโภค (B to C) และ ธุรกิจกับธุรกิจ (B to B) เหล่านี้ ล้วนประกอบเป็นวิสัยทัศน์ขององค์กรที่เรียกว่า Convergence & Lifestyle Enabler หรือ การทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงและสามารถเติมเต็มชีวิตประจำวันของเขาได้อย่าง เต็มที่และครบวงจร ซึ่งปัจจุบันกลุ่มทรูสามารถเข้าถึงองค์ประกอบที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด รวมทั้งสามารถนำมาผสมผสานให้บริการแก่ลูกค้าภายในกลุ่มได้อย่างเป็นจริง

สำหรับปี 2550 จะเป็นก้าวสำคัญของความเป็นผู้นำ Convergence Lifestyle ที่แท้จริง โดยกลุ่มทรูจะ สร้างมูลค่าเพิ่มสูงสุดให้ประชาชนคนไทยทั่วประเทศอย่างที่ไม่มีใครเคยทำมา ก่อน รวมทั้งจะพิสูจน์ ตัวเองในฐานะบริษัทเอกชนไทยรายเดียวในประเทศว่า บริษัทไทยภายใต้พื้นฐานที่เป็นธรรม สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม และเป็นผู้นำในหมวดด้านเทคโนโลยี ตลอดจนการสื่อสารที่ครอบคลุมสนองตอบความต้องการให้กับลูกค้าและผู้บริโภคชาว ไทยได้ตรงใจครบวงจร พร้อมแข่งขันกับต่างชาติและในตลาดโลก

สำหรับ ภาพรวม 5 กลุ่มธุรกิจของกลุ่มทรู นายศุภชัยกล่าวว่า ธุรกิจแรกคือ ทรูออนไลน์ นับตั้งแต่โทรศัพท์พื้นฐาน อินเทอร์เน็ตและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แม้ว่ากลุ่มทรูจะสามารถทำตลาดได้เฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตามพื้นที่ให้บริการของโทรศัพท์พื้นฐานของกลุ่มทรู แต่กลุ่มทรูก็เป็นผู้นำชัดเจนเรื่องโทรศัพท์พื้นฐานมีลูกค้า 1.9 ล้าน คิดเป็นส่วนแบ่งการตลาด ประมาณ 56% และยังเป็นผู้นำตลาดบรอดแบนด์ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ มีส่วนแบ่งตลาด 80-85% รวมแล้วมีฐานลูกค้าผู้ใช้บริการ ทรูออนไลน์ ถึง 2.7 ล้านราย

สำหรับ ทรูมูฟ ตลาดของทรูมูฟหรือ ตลาดของมือถือโดยรวม มีการเติบโตโดยเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาปีละ 30% ถือว่าเป็นตลาดที่เติบโตดีมาก มีแนวโน้มสูงขึ้นถึง 75% ภายใน 2 ปีข้างหน้า

โดยปัจจุบันทรูมูฟมีส่วนแบ่งตลาด ณ เดือนกันยายนที่ผ่านมา ประมาณ 19% อัตราการเติบโตของรายได้โตเฉลี่ยถึง 34% และในเรื่องเครือข่ายปัจจุบันทรูมูฟครอบคลุมถึง 92% ของประชากรซึ่งไม่ แตกต่างจากคู่แข่ง

ทรูวิชั่นส์ หรือ ยูบีซี ซึ่งเป็นธุรกิจที่ให้บริการโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิกรายใหญ่ที่สุดในประเทศ อยู่ในจุดยืนที่ดีมาก และในปีที่ผ่านมาสามารถขยายสู่ตลาดที่เป็นพื้นฐานเข้าสู่กลุ่มรากหญ้ามาก ขึ้น ทำให้มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด มีสมาชิกผู้ใช้บริการประมาณ 6 แสนครัวเรือน

ทรูมัน นี่ เป็นการให้บริการด้านคอมเมิร์ซ และธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ทั้งเติม-จ่าย-โอน-ถอน เป็นการนำกระเป๋าเงินอิเลคทรอนิกส์ไว้ในมือถือ ซึ่งนับได้ว่าเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีการเติบโตสูงที่สุดและมากที่สุด โดยปัจจุบันมีลูกค้าทรูมูฟใช้บริการ 8.5 แสนราย และนอกจากจะใช้บริการทรูมันนี่ในการจ่ายทุกบริการต่างๆ ของกลุ่มทรูได้แล้ว ยังมีการขยายคู่ค้าพร้อมสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นอย่างหลากหลายและต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ทั้งสามารถชำระค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า รวมทั้งชำระค่าโดยสารรถแท็กซี่อีกด้วย

และสำหรับ ทรูไลฟ์ ซึ่งเป็นส่วนเนื้อหาสาระที่เชื่อมโยงผู้สนใจในไลฟ์สไตล์หรือเนื้อหาสาระเดียวกัน ซึ่งปัจจุบันกลุ่มทรูมีทั้งคอนเทนต์ผ่านอินเทอร์เน็ตและมือถือ ไม่ว่าจะเป็นดนตรี กีฬา ดูหนัง ฟังเพลง ตลอดจนหนังสือ รวมถึงคอนเทนต์ที่อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของทรูวิชั่นส์ ซึ่งจะนำมาผสมผสานเชื่อมโยงเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะตรงใจลูกค้าแต่ละกลุ่มเป้าหมาย อีกทั้งจะเพิ่มเนื้อหาสาระต่างๆ ให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น

“ผมมีความเชื่อมั่นว่า สังคมแห่งการเรียนรู้หรือสังคมแห่งภูมิปัญญารวมทั้งความแตกต่างของภูมิปัญญา เป็นช่องว่างที่จะทำให้สังคมสามารถที่จะพัฒนาหรือล้าหลังประเทศอื่นๆ ดังนั้น ความสามารถในการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร และความรู้ จึงถือเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างยิ่งต่อระดับประเทศ หรือแม้แต่ต่อมวลมนุษยชาติ เพราะเป็นพื้นฐานของการได้ “รับรู้ และเรียนรู้” ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการมีชีวิตอยู่ ผมจึงถือเป็นพันธกิจที่สำคัญยิ่ง ที่กลุ่มทรูจะ ต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการลดช่องว่างดังกล่าว ทั้งภายในประเทศและช่องว่างที่มีกับประเทศอื่น เพื่อเชื่อมโยงและเพิ่มขีดความสามารถตลอดจนยกระดับ ประชาชนและเยาวชนทุกครัวเรือนทั่วประเทศ ให้สามารถเข้าถึง รับรู้ เรียนรู้ ข้อมูลข่าวสาร ความรู้และเนื้อหาสาระ ผ่านเทคโนโลยีสื่อสาร เพื่อพัฒนาตนเองและสังคมรอบข้าง รวมถึงประเทศชาติและเศรษฐกิจโดยรวม” นายศุภชัยกล่าวสรุป

ที่มา http://www.newswit.com/news/2007-02-01/2007-convergence-lifestyle/

Convergence Billing บทพิสูจน์ความสำเร็จของ True


ยุทธศาสตร์ Convergence อาจส่งผลให้ความเป็นไปของ True ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อุดมด้วยสีสันและกลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่ชวนติดตามและถูกเฝ้ามองมากที่สุด ไปพร้อมกัน

นอกจาก True จะผนึกประสานผลิตภัณฑ์หรืออีกนัยหนึ่ง content ที่มีอยู่อย่างหลากหลายเข้าเป็นส่วนหนึ่งภายใต้แคมเปญส่งเสริมการขายได้ อย่างครบถ้วนลงตัวแล้ว

สิ่งที่ True ประสบความสำเร็จมาก อีกด้านหนึ่งอยู่ที่การหยิบยื่นให้เกิดไลฟ์สไตล์ ใหม่ที่ถูกกล่าวขานในเวลาต่อมาในฐานะ convergence lifestyle ด้วย

ขณะที่กิจกรรมการตลาดของ True สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับแวดวงธุรกิจ ควบคู่กับการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆ อย่าง ต่อเนื่อง ทำให้ชื่อของ True กลายเป็นแบรนด์ที่ติดหูติดตาผู้บริโภคมากที่สุดรายหนึ่งภายในเวลาอันรวดเร็ว

ความสำเร็จของ True ช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ True ได้รับเลือกให้เป็นบริษัทที่มี นวัตกรรมในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าดีที่สุดติดต่อกัน 2 ปีซ้อนจากการจัดอันดับของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล เอชีย (WSJA) เป็นหนึ่งในสิบอันดับบริษัทที่น่าชื่นชมที่สุดของไทยด้วย

"รางวัลที่ True ได้รับ สะท้อนให้เห็นถึงการทำงานหนักของทีมงาน เพราะความสำเร็จที่เกิดขึ้นย่อมไม่ได้เกิดขึ้นจากความคิดใดความคิดหนึ่ง อย่างโดดเดี่ยว หากแต่มาจากความคิดที่ผลิตออกมามาก มาย โดยบางส่วนอาจห่างไกลจากคำว่าสำเร็จเลยก็ได้" ศุภชัย เจียรวนนท์ ประธาน คณะผู้บริหาร ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวอย่าง มีนัยสำคัญ

Convergence ในช่วงที่ผ่านมา อาจทำให้ True สามารถเปิดช่องทางการรับรู้รายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ ท่ามกลาง รูปแบบธุรกิจที่ไม่ต่างจากวิถีการดำเนินไปของซี.พี. ต้นตำรับโมเดลทางธุรกิจคุ้นเคยมากนัก แต่การรับรู้ของสาธารณะ ซึ่งติดตามมาด้วยการหันมาใช้สินค้า ผลิตภัณฑ์ และบริการในเครือข่ายของ True อาจหมาย ถึงรายได้ที่เพิ่มมากขึ้น แต่นั่นก็ยังมิใช่หลัก ประกันสำหรับความสำเร็จในระยะยาวได้ รางวัลที่ได้รับอาจหาประโยชน์ใดๆ ไม่ได้ เมื่อประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่า การประเมิน ความสำเร็จทางธุรกิจย่อมมิสามารถคิดคำนวณได้จากเพียงมิติของปรากฏการณ์ที่ ฉาบฉวย

True อาจได้เปรียบคู่แข่งขันจากผล การมีโครงข่ายธุรกิจครอบคลุมบริการที่กว้างขวางและครบวงจรกว่าผู้ประกอบราย อื่นๆ แต่ความได้เปรียบดังกล่าวต้องแลกมาด้วยต้นทุนราคาแพงเช่นกัน

ประวัติการณ์ความเป็นไปที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อครั้งยังมีสถานะเป็น เทเลคอมเอเชีย ก่อนพัฒนามาสู่ True Corporation ไม่ได้เกิดขึ้นบนสุญญากาศ หากแต่เป็นสองทศวรรษที่ได้ส่งผ่านประสบการณ์จำนวนมากให้ศุภชัย และผู้บริหารระดับสูง ของ True ได้พิจารณา

ความคิดคำนึงของศุภชัย ในฐานะที่ ต้องนำ True ไปสู่ความสำเร็จในวันนี้ไม่อาจ พิจารณาเฉพาะหนทางการสร้างรายได้แต่โดยลำพัง เขาต้องแสวงหาหนทางในการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัท ภายใต้ร่มธงของ True อีกด้วย

มิติในจังหวะก้าวของ True ภายใต้ ยุทธศาสตร์ convergence ดูไม่ค่อยคืบหน้ามากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับพัฒนาการ ในการเชื่อมโยง product ของ True อยู่ที่ ความพยายามนำเสนอ convergence billing ซึ่งพร้อมจะสื่อสารในระดับสาธารณะ ให้เป็นประหนึ่งบริการใหม่ที่ล้ำสมัย อำนวย ความสะดวกให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งเป็นลูกค้า

อีกด้านหนึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า convergence billing ดังกล่าวสอดคล้องกับความพยายามลดภาระต้นทุนการดำเนินงานให้ลดลง ซึ่งจะนำไปสู่ผลกำไรที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในห้วงเวลาที่ส่วนต่างระหว่างรายได้ กับค่าใช้จ่ายดำเนินการถูกบีบให้แคบลง

"convergence billing ที่ True กำลังจะทำ ถือเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นที่ใดมาก่อน" ศุภชัยกล่าวในการพบกันครั้งล่าสุดเมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

ถ้อยความดังกล่าวอยู่บนข้อเท็จจริง พื้นฐานที่ว่า ในประเทศที่ระบบธุรกิจพัฒนา และเจริญก้าวหน้าไปมากแล้ว ทั้งสหรัฐอเมริกา หรือในยุโรป ซึ่งมีกฎหมายควบคุม และต่อต้านการผูกขาด หรือ anti trust

การจำหน่ายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการแต่ละราย ย่อมดำเนินไปโดยปราศจากการรวมศูนย์ และไม่มีความจำเป็นต้องหาวิธี convergence billing เช่นว่านี้แต่อย่างใด

ช่วงที่ผ่านมา True ได้นำเสนอรูปแบบการชำระค่าบริการผ่านระบบออนไลน์ หรือแม้กระทั่งผ่านเทคโนโลยีบนมือถือไปบ้างแล้ว แต่การเชื่อมประสานทางกายภาพ (physical) ภายในของ True อย่างแท้จริง ดูจะเป็นกรณีที่ต้องใช้เวลาอีกไม่น้อย

"เรื่องที่น่าแปลกมากก็คือ เราได้ลงทุนในระบบการจัดเก็บรายได้สำหรับแต่ละส่วนงานไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งแม้จะเป็นการจัดซื้อจัดจ้างจาก vendor รายเดียวกัน แต่การเชื่อมระบบให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กลับไม่ง่ายอย่างที่คิด"

ก่อนหน้านี้ ความคิดคำนึงว่าด้วย convergence billing อาจอยู่ห่างไกลออก ไปจากคณะผู้บริหารของ True เนื่องเพราะ ประเด็นสำคัญกำหนดให้อยู่ที่การแสวงหา รายได้และสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อเติมเต็มหนทางรอดในธุรกิจและการก้าวเดินใหม่อีกครั้ง

หากแต่ในสถานการณ์ปัจจุบัน นี่อาจเป็นห้วงเวลาสำคัญที่จะทำให้ True มีโอกาสได้ปรับเปลี่ยนกลไกภายในเพื่อเสริมความแข็งแกร่งอีกครั้ง

ดูเหมือนว่า convergence billing กำลังจะเป็นตัวเชื่อมสำคัญที่จะนำไปสู่บทพิสูจน์ประเมินความสำเร็จของ ยุทธศาสตร์ convergence โดยองค์รวมด้วย

ที่มา http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=71849


ผศ. ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม : Convergence Marketing

... Strategies or “Combining Marketing Strategies”, for reaching the “New Hybrid Consumer”…




หลายปีก่อน นักการตลาดจำนวน มากมีความเห็นว่าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคไซเบอร์ที่ระบบการค้าการซื้อขายและการ ส่งมอบสินค้าเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม และที่สำคัญก็คือเชื่อว่า ผู้บริโภคเปลี่ยนไปดังนั้น เพื่อสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ จึงมีคำแนะนำให้ธุรกิจเข้าสู่ E-Commerce สร้าง E-Business ตลอดจน E-อื่นๆ อีกมากมาย เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค ในช่วงเวลานั้นเราจึงได้เห็นบริษัทจำนวนมากวิ่งเข้าหาเทคโนโลยี ลงทุน ร่วมทุน พัฒนาเทคโนโลยีบนอินเทอร์เน็ต บริษัทเหล่านั้นถูกจับตามองว่าเป็นธุรกิจดาวรุ่งแห่งทศวรรษ เป็นบริษัทที่จะสามารถทันกับผู้บริโภคยุคใหม่ ที่เรียกว่าเป็น “Cyber Consumer” นอกจากนี้ยังมั่นใจว่า กลยุทธ์ทางการตลาดในสูตรเดิมๆ จะใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไปในยุคไซเบอร์



ใน ขณะเดียวกัน หลายๆ บริษัท ก็แทบจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับกระแสของไซเบอร์หรืออินเทอร์เน็ตที่มีต่อ พฤติกรรมผู้บริโภคเลย หรือมีมุมมองว่าอินเทอร์เน็ตก็คือสื่อโฆษณารูปแบบใหม่ที่ยังคาดหวังผลไม่ได้ เท่าไรนัก การตอบสนองต่อกระแส อย่างมากจึงเป็นเพียงการวาง Banner บนเว็บไซด์เพื่อโฆษณา บริษัทเหล่านี้เชื่อว่าผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายของเขายังคงเป็น “Traditional Consumer” ดังที่เขาคุ้นเคย และเชื่อสูตรการตลาดแบบดั้งเดิมว่าเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ยังเหมาะสมกับการตอบสนองผู้บริโภคของเขา



บท สรุปในวันนี้ของสถานการณ์ข้างต้น เป็นสิ่งที่ไม่ได้ยากเกินกว่าที่ทุกท่านจะคาดการณ์ก็คือ กลุ่มที่มีความคิดและมุมมองเกี่ยวกับผู้บริโภคที่อยู่ปลายสุดทั้งสองฝั่ง ต่างก็เป็นผู้แพ้ในเกมส์ธุรกิจ กล่าวคือ บริษัทที่พัฒนาธุรกิจบนความเชื่อปลายสุดด้านหนึ่งว่าผู้บริโภคเป็น “Cyber Consumer” นั้น เกือบทั้งหมดไม่ประสบความสำเร็จ ในขณะที่บริษัทที่มีมุมมองปลายสุดอีกด้านหนึ่งว่าผู้บริโภคยังคงเป็น “Traditional Consumer” จำนวนมากก็อยู่ในสถานการณ์การตลาดที่เป็นรองคู่แข่งหรือถูกทิ้งห่างไปไกล ทั้งนี้เพราะ ผู้บริโภคไม่ใช่ “Cyber Consumer” อย่างสมบูรณ์แต่ก็ไม่ใช่ “Traditional Consumer” เหมือนเมื่อครั้งในอดีตที่ผ่านมา แต่เป็น “New Hybrid Consumer” คือลูกผสม และกลยุทธ์การตลาดที่จะตอบสนอง “Hybrid Consumer” ได้อย่างเหมาะสมก็คือ “Convergence Marketing” ซึ่งเป็น “Keyword” ในฉบับนี้



Convergence Marketing


“Convergence” คือ การเบนหรือการผสานเข้าหากัน หรือการบรรจบกัน หากเราถามวิศวกรเกี่ยวกับคำๆ นี้ ก็จะได้คำอธิบายว่าเป็นลักษณะที่เส้นสองเส้นเบนเข้าหากัน ใกล้กันมากขึ้นเรื่อยๆ และไปบรรจบกันที่ (infinite) ความหมายโดยนัยของคำว่า “Convergence” ตามที่ปรากฏในหนังสือของ Jerry Wind, Vijay Mahajan, Robert E. Gunther ผู้ที่เขียนเรื่อง “Convergence Marketing” ก็คือ การผสานหรือรวมกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อตอบสนองผู้บริโภคยุคใหม่ ยุคที่พวกเขาเป็น “New Hybrid Consumer” คือมีส่วนผสมกันระหว่างความเป็น “Traditional Consumer” กับ “Cyber Consumer” และเรียก “New Hybrid Consumer” นี้ว่าเป็น “Centaur- สัตว์ในนวนิยายที่มีหัวเป็นคนมีตัวเป็นม้า




New Hybrid Consumers – The Centaurs



ใน ปัจจุบันเทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้บริโภค ด้วยเทคโนโลยีทำให้ผู้บริโภคในปัจจุบันเข้าถึงและได้รับข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว สื่อสารกับผู้อื่นข้ามทวีปได้ในเสี้ยววินาที ได้เห็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากทั่วโลกตามต้องการผ่านทางจอคอมพิวเตอร์ ได้รับบริการและเคยชินกับการได้รับบริการแบบฉับพลัน ความสะดวกรวดเร็วที่เกิดขึ้นเปรียบได้กับการมีร่างกายที่เป็นม้าในนวนิยาย ที่เคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็วตามใจปรารถนา ไม่อดทนกับการรอคอย ไม่พอใจกับความล่าช้าและการให้บริการที่ไม่ใช้ระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ แต่ อีกส่วนหนึ่งของผู้บริโภคที่ไม่ได้เปลี่ยนไปก็คือ หัวใจของความเป็นมนุษย์ ความต้องการความพึงพอใจจากสัมผัสที่เป็นมนุษย์ การแสดงพฤติกรรมตามแรงจูงใจต่างๆ ไม่ว่าจะด้านเหตุผลหรืออารมณ์ ความต้องการทางจิตวิทยา ความลังเลใจหวาดระแวงผู้ประกอบการ และอื่นๆ อีกมากมายทั้งที่สามารถคาดเดาได้หรือที่คาดเดาได้ยาก ฯลฯ และกล่าวได้ว่าผู้บริโภคดำเนินชีวิตอยู่ระหว่างโลกจริงกับโลกเสมือนจริงในไซ เบอร์อยู่ตลอดเวลา เช่น อ่าน Email ส่ง Email อ่าน ข่าวสั้นทางอินเทอร์เน็ต แต่อ่านหนังสือพิมพ์จริง ค้นคว้า ค้นหา เปรียบเทียบข้อมูลผลิตภัณฑ์จากอินเทอร์เน็ต แต่ก็ยังชอบที่จะไปช็อปปิ้งเลือกหยิบจับสินค้าจริงจากร้านค้าจริงมากกว่าจะ สั่งซื้อทางอินเทอร์เน็ต ผู้บริโภคมีกลุ่มมีสังคม เป็นสมาชิกของกลุ่มหนึ่งๆ ทั้งกลุ่มจริงๆ และกลุ่มในห้องสนทนา (Chat Room) ที่เข้าไปพูดคุยบ่อยหรือเป็นประจำโดยที่ไม่เคยรู้จักหน้าตาหรือตัวจริงของสมาชิกที่อยู่ในโลกไซเบอร์นั้นเลย


ผู้บริโภคในยุคที่เป็น Centaurs ยังคงมีความต้องการความปรารถนาตามปกติวิสัยของมนุษย์ และเคยชินกับการมีและใช้เทคโนโลยีในชีวิต นักการตลาดที่มองว่าเขายังคงเป็น Traditional Consumer ก็เปรียบได้กับการมอง Centaur จากด้านหน้าด้านเดียวทำให้เห็นเพียงส่วนที่เป็นมนุษย์ ในทางตรงกันข้ามนักการตลาดที่มองว่าผู้บริโภคได้กลายเป็น Cyber Consumer ไปแล้ว ก็เปรียบได้กับการมอง Centaur จากด้านหลังด้านเดียวทำให้เห็นเฉพาะส่วนที่เป็นม้า ซึ่งการมองแบบปลายสุดทั้งสองด้านย่อมไม่สอดคล้องกับผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน และกลยุทธ์ที่สนองตอบผู้บริโภคแบบปลายสุดด้านใดด้านหนึ่งจึงไม่ใช่ทางเลือก ที่ถูกต้อง ตราบเท่าที่ผู้บริโภคยังให้คำตอบว่าชอบช็อปปิ้งในศูนย์การค้าหรือร้านค้า ปลีกมากกว่าการช็อปปิ้งทางอินเทอร์เน็ต มีคำตอบว่ารู้สึกหงุดหงิดไม่พอใจหากบริษัทที่เขาใช้บริการไม่มีระบบสารสนเทศ ลูกค้า ไม่สามารถตอบสนองเขาในฐานะลูกค้าได้อย่างฉับพลันทันที



The 5C’s of Convergence Marketing



แนวคิดในการผสานกลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อให้สอดคล้องกับผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ชี้ให้นักการตลาดให้ความสำคัญกับ 5 ด้านหลัก ได้แก่


1. Customizationการผสานระหว่างการตอบสนองลูกค้าแบบ Customization ที่มองลูกค้าเป็นรายบุคคลที่มีความเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกัน กับ Standardization ที่มุ่งเสนอสิ่งที่เป็นมาตรฐานเดียว (Convergence of Customization and Standardization)


การ ตอบสนองลูกค้าแต่ละรายด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์ การให้บริการ หรือการสื่อสารที่มีความเฉพาะสำหรับเขาเป็นแนวคิดที่ดีและด้วยเทคโนโลยี ต่างๆ ทำให้การตอบสนองผู้บริโภคตามแนวคิดนี้ง่ายขึ้น และลูกค้าเองก็คาดหวังที่จะได้รับการตอบสนองแบบเฉพาะรายนี้ด้วย เราจึงได้เห็นผลิตภัณฑ์เฉพาะสำหรับลูกค้าเกิดขึ้นมากมายไม่ยกเว้นแม้แต่ สินค้าทั่วไปอย่างแชมพูสระผมที่ปัจจุบันลูกค้าเริ่มมีแชมพูของตัวเอง มีชื่อตัวเองติดอยู่บนขวดว่าเป็นสูตรเฉพาะ แต่ในอีกด้านหนึ่งที่ต้องผสาน กลยุทธ์ ก็คือ ไม่ใช่ผู้บริโภคทุกรายที่ต้องการแชมพูเฉพาะสำหรับตัวเขา และ ผู้บริโภครายหนึ่งๆ ไม่ได้ต้องการการตอบสนองที่เป็นสูตรเฉพาะสำหรับเขาในทุกๆ ผลิตภัณฑ์ เช่น คนที่ชอบใช้แชมพูสูตรเฉพาะก็ยังพอใจใช้เสื้อผ้า Brand ดังที่ออกแบบและผลิตเป็นมาตรฐานที่มีจำหน่าย เป็นต้น หัวข้อนี้จึงเป็นโจทย์ข้อที่หนึ่งที่นักการตลาดต้อง Convergence กลยุทธ์


2. Communityการผสานระหว่างปฏิสัมพันธ์จริงกับปฏิสัมพันธ์ในสังคมเสมือนจริง (Convergence of Virtual and Physical Community)


การผสานในเรื่อง Community นี้ มาจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่มีสังคมอยู่ในโลกอินเทอร์เน็ต ที่สมาชิกอยู่กระจายไปทั่วประเทศหรือทั่วโลกที่เริ่มจากความไม่รู้จักกันแต่ มารวมกันใน Web Site เพราะสนใจในเรื่องเดียวกัน เช่น สังคม benzuser.com เป็นต้น โจทย์ของนักการตลาดข้อ นี้ก็คือ ต้องผสานสังคมเสมือนจริงทางอินเทอร์เน็ตกับสังคมที่มีตัวตนจริงๆ เข้าด้วยกันให้ได้ ซึ่งไม่ง่ายนัก และโจทย์ที่สองก็คือ ต้องผสานให้บรรจบกันให้ได้ระหว่าง ความเป็นสังคมกับผลประโยชน์ทางธุรกิจ กล่าวให้ง่ายขึ้นก็คือ นักการตลาดใช้ อินเทอร์เน็ตในการเริ่มสร้างสังคม จากนั้นต้องทำให้สังคมนี้มีตัวตนจริงๆ และขึ้นต่อไปจึงหาทางสร้างประโยชน์ทางธุรกิจ โดยต้องไม่เสียสัมพันธภาพและความเป็นสังคมผู้บริโภคนี้ไป ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยากไม่น้อย


3. Channelsการผสานระหว่างช่องทางการตลาด ที่ต้องสร้างให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียว ไม่มีความแตกต่างรวมทั้งมีความต่อเนื่องในการติดต่อ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางอินเทอร์เน็ต ทางโทรศัพท์หรือร้านค้าที่เปิดจำหน่าย (Convergence of Online and Offline Channels)


การผสานเรื่องช่องทางนี้ ได้เคยนำเสนอเป็น keyword : “Integrated Multi-Channel Marketing” แล้ว โดยแนวคิดก็คือ ลูกค้าในปัจจุบันพอใจที่จะติดต่อกับเราผ่าน Multi-Channel และคาดหวังความต่อเนื่องในการติดต่อด้วย นั่นหมายถึงนักการตลาดต้องสร้าง Multi-Channel เพื่อให้ลูกค้าติดต่อเราโดยวิธีใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นทาง web site ทางโทรศัพท์ผ่าน Call Center หรือศูนย์บริการ หรือร้านที่มีสินค้าวางจำหน่าย และต้อง Integrate ช่องทางเหล่านั้นเข้าด้วยกัน มีการ update ข้อมูลระหว่าง Channel ต่างๆ แบบ real time


4. Competitive Valueการผสานระหว่างการตั้งราคาแบบดั้งเดิมกับการสร้างส่วนผสมคุณค่าใหม่ๆ (Convergence of New Competitive Value Proposition and Traditional Pricing)


โลกอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้บริโภครู้จัก Pricing Model รูปแบบใหม่ๆ ขึ้น เช่น การประมูล (Auction or Name-Your -Own-Price Model) หรือ การให้ผู้บริโภคเป็นผู้ประกาศราคาที่ต้องการซื้อและผู้ขายแต่ละรายเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะขายหรือไม่ (Buyer-initiated Pricing Model) แต่ในอีกด้านหนึ่ง ผู้บริโภคเองก็ยังชอบที่จะได้รับทราบราคาของฝ่ายผู้เสนอขาย โจทย์ข้อนี้ของนักการตลาดก็คือ ทำอย่างไรจึงจะสามารถกำหนดราคาที่ผสานระหว่าง Fix Price กับ Flexible Price ให้ ผู้บริโภคพอใจและอีกประการหนึ่งก็คือ การผสานระหว่างเรื่องราคากับเรื่องคุณค่าอื่นๆ เช่น ประสบการณ์ที่แตกต่าง เป็นต้น ที่มุ่งส่งมอบเพื่อเสนอให้ผู้บริโภคพิจารณา


5. Choice Toolsการผสานด้านการให้เครื่องมือช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้บริโภค


ผู้ บริโภคมีอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญในการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเพื่อ ช่วยในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด แต่ขณะเดียวกันการได้รับข้อมูลมากๆ ทางอินเทอร์เน็ตก็อาจยิ่งทำให้ความมั่นใจที่จะตัดสินใจลดลง นักการตลาดจึงมีโจทย์ที่จะต้อง Convergence-ผสาน การให้ข้อมูล ให้คำแนะนำในการตัดสินใจแก่ผู้บริโภคอย่างไรจึงจะทำให้ผู้บริโภคเชื่อถือและ ไว้วางใจ การผสานในที่นี้หมายถึงการกำหนดส่วนผสมในการสื่อสารเผยแพร่ข้อมูล ตลอดจนการผสานระหว่างสิ่งที่เราต้องการบอกผู้บริโภคกับสิ่งที่ผู้บริโภคต้อง การทราบ



แนวคิดของการสร้างกลยุทธ์การตลาดแบบ Convergence ต้อง เริ่มจากการมองผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมของเขาอย่างเข้าใจ เป็นแนวความคิดที่ผสานได้ระหว่างความล้ำสมัย เรื่องไฮเทคโนโลยี กับ ความดั้งเดิม รูปแบบที่คุ้นเคย แนวความคิดนี้เชื่อว่านักการตลาดไทยอย่าง พวกเราจะเข้าใจและประยุกต์ได้ดีกว่าพวกฝรั่ง เพราะเป็นแนวความคิดที่สอดคล้องกับวิธีคิดวิธีมองแบบไทย ที่ไม่นิยมมองแบบสุดขั้วทางใดทางหนึ่ง โดยแกนหลักของความคิด Convergence Marketing ก็คือ การผสานกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อตอบสนองผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่เป็นมนุษย์ Hybrid ระหว่างการใช้ชีวิตที่เป็น E-Life กับ Traditional Life นั่นเอง.

ที่มา http://www.marketeer.co.th/inside_detail.php?inside_id=3145

ไม่มีความคิดเห็น: