วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

WIKINOMICS

ท่านผู้อ่านอาจจะเคยได้ยินคำว่า “ WIKI ” มาแล้วหรือบางท่านอาจจะรู้จักคำนี้จากการเข้าไปในเว็บและเปิดดูความหมายของ คำศัพท์ต่างๆ จากการเข้าไปในเว็บ WIKIPEDIA.COM ซึ่งเป็นเว็บที่น่าทึ่งกับความมโหฬารของขนาดของเว็บที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ มันเป็นเสมือน Encyclopedia ขนาดยักษ์ใหญ่ที่เขียนโดยผู้เขียนเป็นหมื่นๆคน โดยมีพนักงานประจำดูแลเว็บไซต์นี้เพียงห้าคนเท่านั้นขนาดของเว็บใหญ่กว่า Encyclopedia Britannica ถึงสิบเท่า โดยที่มีความน่าเชื่อถือพอๆ กัน “ WIKI ” คือชื่อของซอฟต์แวร์ที่ผู้ใช้สามารถเข้าไปแก้ไขใจความใน Webpage ได้

ความสวยงามของเว็บนี้คือ ถ้าท่านต้องการจะเข้าไปช่วยอธิบายคำศัพท์ใดๆ ที่ท่านมีความรู้ก็สามารถเข้าไปช่วยเขียนได้ แนวคิดของมันคือการที่ทุกคนมีสิทธิ์เข้าไปช่วยกันสร้างสรรค์ Encyclopedia ขนาดยักษ์นี้ได้ ดังนั้น Wikipedia จึงใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วและขยายไปมากมายหลายภาษา ภาษาอังกฤษมีมากกว่าล้านคำ นอกนั้นก็ยังมีอีกเก้าสิบสองภาษาเช่น ภาษาโปแลนด์ ญี่ปุ่น ฮิบบรู รวมทั้งภาษาไทยด้วย เรียกว่าคนทั่วโลกที่สามารถเข้าไปใน Internet ก็สามารถช่วยกันสร้างสรรค์ Encyclopedia นี้ได้

แนวคิดของ “ WIKINOMICS ” นั้นเป็นการรวมกันของทั้งศาสตร์และศิลป์ในการที่กลุ่มคนจะทำงานร่วมกันเพื่อ ผลิตชิ้นงานออกมา และคำว่า “ WIKI ” ก็เป็นมากกว่าซอฟต์แวร์ที่ให้ผู้คนเข้าไปปรับแก้เว็บไซต์ “ WIKINOMICS ” จะทำให้โลกทั้งใบนี้เปลี่ยนแปลงไปเลยทีเดียว ผู้คนสามารถเข้าไปในเครือข่ายเดียวกันที่จะเสนอแนะการผลิตสินค้าหรือการคิด ค้นบริการ โดยจะเป็นขบวนการที่มีผลลัพธ์อย่างชัดเจนและปรับปรุงแก้ไขไปได้เรื่อยๆ

มัน จะเป็นขบวนการที่ก่อให้เกิดการผลิตคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการนั้นๆ การรวมตัวกันของกลุ่มคนมากมายที่เข้ามาในเครือข่าย Online และร่วมกันเสนอแนะความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อันเป็นผลให้เกิดนวัตกรรมและการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมนั้นๆ กิจกรรมนี้เขาเรียกมันว่า “ การผลิตร่วมกันของกลุ่มคน ” ( PEER PRODUCTION ) ตัวอย่างของ “ การผลิตร่วมกันของกลุ่มคน ” ( PEER PRODUCTION ) โดยผ่าน Online Network นี้เช่น ในเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 2006 เว็บไซต์ My Space มีคนเข้ามาใช้ ( USERS ) หนึ่งร้อยล้านคน โดยมีอัตราการเจริญเติบโตอาทิตย์ละครึ่งล้าน เว็บไซต์ MY Space Youtube Linux และ Wikipedia เป็นตัวอย่างของการเกิดปรากฏการณ์การมาร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อผลิตชิ้นงาน ร่วมกัน ( MASS COLLABORATION ) มันเป็นปรากฏการณ์ที่กลุ่มคนทั่วไปเป็นพันๆ คน และผู้ผลิตรายเล็กๆ สามารถเข้าไปในเว็บไซต์เดียวกันเพื่อร่วมกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ เข้าไปมองหาตลาดและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า

ซึ่งในอดีต สามารถทำได้เฉพาะบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เงินทุนหนาเท่านั้น ปรากฏการณ์นี้ได้เกิดขึ้นแล้วกับธุรกิจ Media ธุรกิจบันเทิง และก็ทำให้ธุรกิจเหล่านี้ต้องถูกกระทบอย่างแรงทางด้านผลประกอบการ ผู้คนเป็นล้านๆ คนแชร์ข่าวสารข้อมูลกันทาง Internet เข้าไปอ่านใน blog หรือเข้าไปดูใน Website ที่มีผู้คนห้าสิบกว่าล้านคนช่วยกัน Update ข่าวสารข้อมูลทุกวินาที Webblogs ( เรียกสั้นๆ ว่า blog ) ใหญ่ๆ บางอันมีคนเข้ามาเยี่ยมเยียนห้าแสนคนต่อวัน ปัจจุบัน Audioblogs podcast หรือ blog รูปภาพ ก็เป็น web ที่ผู้คนเข้าไป Update และ Upload download กันฟรีๆ

“ การผลิตร่วมกันของกลุ่มคน ” ( PEER PRODUCTION ) นี้ถือว่าเป็นการสังสรรค์สมาคม ผู้ร่วมงานเพียงต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ โมเดม และความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่จะมารวมตัวกันในแวดวงเศรษฐกิจนี้ การรวมตัวกันเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานนี้ ( MASS COLLABORATION ) ไม่ได้มีแต่ผู้ที่มีความสนใจเชิงพาณิชย์เท่านั้น มันยังเป็นการรวมตัวกันเพื่อที่จะช่วยกันคิดค้นวิธีการรักษาโรคทางพันธุ กรรม หรือการทำนายสภาวะอากาศของโลก หรือการค้นหาดาวพระเคราะห์ดวงใหม่และดวงดาวดวงใหม่ๆ นักวิจัยที่ห้องทดลอง OLSON ได้ใช้วิธีนี้เปิดให้คนเข้ามาใน Web เพื่อช่วยกันประเมินเลือกตัวยาที่จะสามารถรักษาโรคเอดส์ได้ โดยมีเว็บไซต์ที่เปิดชื่อ FightAID@home และเป็นเครือข่ายที่คนเข้ามาร่วมจากทั่วโลก

ถ้า พูดถึงเรื่องเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากสารเคมีสังเคราะห์ คุณอาจจะเป็นพนักงานอยู่ในสายงานนี้ที่เกษียณแล้ว ว่างงานหรือเป็นนักเคมีที่มีความคิดสดใส บริษัท พรอคเตอร์แอนด์แกมเบิล ก็ต้องการความช่วยเหลือจากคุณ บริษัทนี้มีนักวิจัยอยู่ในสังกัด 7,500 คน แต่เขาก็พบว่าปริมาณนี้ไม่เพียงพอที่จะต่อสู้กับการเกิดขึ้นมาของนวัตกรรม ใหม่ๆในอุตสาหกรรมนี้ตลอดระยะเวลาห้าปีที่ผ่านมา แทนที่บริษัทจะจ้างนักวิจัยเพิ่ม หัวหน้าผู้บริหาร A.G. Lafley ได้สั่งการให้หัวหน้าหน่วยธุรกิจต่างๆ ของเขาให้ค้นหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

และ การบริการใหม่ๆ จากภายนอกในปริมาณ 50% ของการค้นหานั้นๆ และจากการสั่งการนั้นทำให้คุณสามารถทำงานให้ พี&จี โดยไม่ต้องเป็นพนักงานประจำก็ได้ ขอเพียงแค่ลงทะเบียนเข้าไปใน InnoCentive Network ซึ่งคุณและนักวิทยาศาสตร์เป็นแสนคนทั่วโลกสามารถเข้ามาช่วยกันแก้ปัญหาทาง ด้านงานวิจัยและพัฒนาที่ยากๆ และได้รางวัลเป็นเงินสดก้อนงามไป เครือข่าย InnoCentive Network นี้เป็นเพียงตัวอย่างของตลาดงานที่นำเอานักวิทยาศาสตร์และงานวิจัยและพัฒนา เข้ามาพบกัน เพื่อที่จะค้นหาความคิดใหม่ๆ และนวัตกรรมที่จะก่อให้เกิดคุณค่าใหม่ๆ ในตลาดขึ้นมา ยี่สิบปีต่อจากนี้ เมื่อเรามองย้อนกลับมาเราจะเห็นจุดเปลี่ยนสำคัญของเศรษฐกิจและสังคมของ ศตวรรษที่ 21 เราจะเข้าใจถึงการที่เราได้เข้าสู่ยุคใหม่บนหลักการใหม่ มุมมองของโลกใหม่ รูปแบบของธุรกิจและการแข่งขันก็จะเปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง

บริษัท จะไม่สามารถพึ่งพาอาศัยเพียงแค่ความสามารถภายในองค์กรเพียงทางเดียว เพื่อจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ บริษัทจะต้องเข้าไปทำงานร่วมกับทุกๆคนที่เกี่ยวข้องคือ หุ้นส่วน คู่แข่งขัน นักศึกษา รัฐบาล และที่สำคัญที่สุดลูกค้าต้องเข้ามาเป็นส่วนร่วมในการทำธุรกิจของบริษัท ความสามารถในการร่วมกันทำงานผ่าน Online เช่นนี้จะกลายเป็นความเชี่ยวชาญที่จำเป็นและสำคัญพอๆกับการทำงบประมาณ การทำวิจัยและพัฒนาหรือการวางแผนเลยทีเดียว

ที่มา http://www.businessthai.co.th/bt/content.php?data=411758_Marketing

ไม่มีความคิดเห็น: